ระบบไฟฟ้าแรงสูง-ต่ำ ข้อควรทราบเกี่ยวกับไฟฟ้า

ระบบไฟฟ้าแรงสูง แรงต่ำ

ระบบไฟฟ้าแรงสูง แรงต่ำ คืออะไร มีแรงดันไฟฟ้าเท่าไหร่

  • ระบบไฟฟ้าแรงสูง คือ ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้า เกิน 1,000 โวลท์
  • ระบบไฟฟ้าแรงต่ำ คือ ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 1,000 โวลท์

ข้อควรทราบเกี่ยวกับไฟฟ้าแรงสูง

ทำไมจึงต้องใช้ไฟฟ้าแรงสูง

ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าสูงจะสามารถส่งกระแสไฟฟ้าไปได้ในระยะทางที่ไกล และมีการสูญเสียทางไฟฟ้าต่ำกว่าระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าต่ำ ดังนั้นการส่งกระแสไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ จึงต้องส่งด้วยระบบไฟฟ้าแรงสูงแทบทั้งสิ้น

ไฟฟ้าแรงสูงมีอันตรายอย่างไร

เนื่องจากไฟฟ้าแรงสูง มีแรงดันไฟฟ้าที่สูงมากเมื่อเทียบกับไฟฟ้าแรงต่ำที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้านทั่วไป (220โวลต์) ไฟฟ้าแรงสูงจึงสามารถที่จะกระโดดข้ามอากาศ หรือฉนวนไฟฟ้าเข้าหาวัตถุหรือสิ่งมีชีวิตได้โดยไม่ต้องสัมผัส หรือแตะสายไฟหากวัตถุนั้น อยู่ภายในระยะอันตรายที่ไฟฟ้าแรงสูง สามารถกระโดดข้ามได้ ระยะอันตรายนี้จะขึ้นอยู่กับ ระดับแรงดันไฟฟ้าของไฟฟ้าแรงสูงโดยแรงดันยิ่งสูงระยะที่ไฟฟ้าสามารถกระโดดข้ามได้ก็จะยิ่งไกล ไฟฟ้าแรงสูงจึงมีอันตรายมากซึ่งสถิติผู้ได้รับอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูงในเขตบริการของการไฟฟ้านครหลวงนั้นมีผู้เสียชีวิตบาดเจ็บและทุพพลภาพประมาณปีละเกือบ 100 คน

ทราบได้อย่างไรว่าเป็นสายไฟฟ้าแรงสูง

เนื่องจากสายไฟฟ้าแรงสูงมีระยะอันตรายที่จะกระโดดข้ามได้ ดังนั้น จึงต้องมีการจับยึดสายไฟฟ้าด้วยวัสดุ ที่เป็นฉนวนไฟฟ้า ในจำนวนที่พอเหมาะ กับไฟฟ้าแรงสูงนั้น ฉนวนไฟฟ้าที่ใช้กัน ส่วนใหญ่จะทำด้วยกระเบื้องเคลือบเป็นชั้น ๆ มีรูปร่างเหมือนชามคว่ำที่เรียกว่าลูกถ้วย ดังนั้นเราจึงสามารถสังเกตว่าเป็นสายไฟฟ้าแรงสูงได้จากการยึดสายไฟฟ้าด้วยลูกถ้วยเป็นชั้น ๆ ซึ่งจำนวนชั้นของลูกถ้วยจะบ่งบอกถึงระดับแรงดันไฟฟ้าของไฟฟ้าแรงสูงนั้น วิธีสังเกตว่าเป็นไฟฟ้าแรงสูงอีกอย่างหนึ่ง ก็คือระดับความสูงของสายไฟ สายไฟฟ้าแรงสูงมักจะอยู่สูงจากพื้นดินตั้งแต่ 9 เมตรขึ้นไป สายไฟฟ้าที่อยู่สูงกว่ามักจะมีแรงดันไฟฟ้ามากกว่าสายไฟฟ้าที่อยู่ต่ำกว่า

สายไฟฟ้าแรงสูงจะมีฉนวนหุ้มอยู่หรือไม่

สายไฟฟ้าแรงสูงส่วนใหญ่ที่ใช้ส่งกระแสไฟฟ้าไปตามถนนหรือทุ่งนานั้น ส่วนใหญ่จะไม่มีฉนวนหุ้ม หรือหากมีฉนวนหุ้ม ก็จะหุ้มบางๆ ไว้เท่านั้น ซึ่งถือว่าไม่ปลอดภัยที่จะสัมผัสหรือแตะต้อง การหุ้มฉนวนที่ปลอดภัยนั้นจะต้องมีฉนวนที่หนา มีการพันทับด้วยสายชีลด์ (Shield) และมีเปลือกนอกอีกชั้นหนึ่ง ทำให้มีสายมีน้ำหนักมากจึงไม่สามารถพาดไปบนเสาไฟฟ้าทั่วไปได้

การกำหนดมาตรฐานระยะห่างที่ปลอดภัยจากสายไฟฟ้าแรงสูงไว้อย่างไร

สายไฟฟ้าแรงสูงส่วนใหญ่ที่ใช้ส่งกระแสไฟฟ้าไปตามถนนหรือทุ่งนานั้น ส่วนใหญ่จะไม่มีฉนวนหุ้ม หรือหากมีฉนวนหุ้ม ก็จะหุ้มบางๆ ไว้เท่านั้น ซึ่งถือว่าไม่ปลอดภัยที่จะสัมผัสหรือแตะต้อง การหุ้มฉนวนที่ปลอดภัยนั้นจะต้องมีฉนวนที่หนา มีการพันทับด้วยสายชีลด์ (Shield) และมีเปลือกนอกอีกชั้นหนึ่ง ทำให้มีสายมีน้ำหนักมากจึงไม่สามารถพาดไปบนเสาไฟฟ้าทั่วไปได้

    • ระยะห่างระหว่างสายกับ อาคาร/สิ่งปลูกสร้าง/ป้ายโฆษณา
      มาตรฐานระยะห่างในแนวนอนที่ปลอดภัยระหว่าง อาคาร/สิ่งปลูกสร้าง หรือป้ายโฆษณากับสายไฟฟ้าแรงสูงมีการกำหนดไว้ดังนี้
ขนาดแรงดันไฟฟ้า (โวลต์) อาคาร/ระเบียง ป้ายโฆษณา
69,000 2.13 1.80
69,000 2.13 1.80
115,000 2.30 2.30

หมายเหตุ

ระยะดังกล่าวไม่ครอบคลุมการทำงานนอกตัวอาคาร หรือบนระเบียงเปิดที่อาจมีการยื่นวัตถุออกนอกตัวอาคาร ซึ่งจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานระยะห่างที่ปลอดภัยสำหรับการทำงาน หรือจะต้องมีการหุ้มหรือคลุมสายเพื่อความปลอดภัย

  • ระยะห่างระหว่างสายกับผู้ปฏิบัติงาน/เครื่องมือกล
    มาตรฐานระยะห่างที่ปลอดภัยของการทำงานใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงสำหรับบุคคลหรือผู้ที่ปฏิบัติงานรวมถึงอุปกรณ์หรือเครื่องมือกลทุกชนิด เช่น ปั่นจั่นรถเครน หรือวัตถุที่ถืออยู่ในมือ จะต้องอยู่ห่างจากส่วนที่มีไฟฟ้าแรงสูงไม่น้อยกว่าระยะดังต่อไปนี้
ขนาดแรงดันไฟฟ้า (โวลต์) ระยะห่างที่ปลอดภัย (เมตร)
12,000 – 69,000 3.05
115,000 3.20
230,000 3.90
หมายเหตุ
1. สายไฟฟ้าบางชนิดที่มีการหุ้มฉนวนเป็นพิเศษอาจมีระยะห่างต่ำกว่ามาตรฐานได้ ขอให้ปรึกษาการไฟฟ้านครหลวง
2. หากบริเวณที่ต้องการปฏิบัติงานมีระยะห่างที่ต่ำกว่ามาตรฐานจะต้องแจ้งให้การไฟฟ้านครหลวงดำเนินการหุ้มหรือ คลุมสายก่อนลงมือทำงาน

สายไฟฟ้าแรงสูงนั้นมีระดับแรงดันเท่าใด

วิธีสังเกตง่าย ๆ ก็คือการนับจำนวนชั้นของลูกถ้วย หรือที่ใช้ยึดจับสายไฟฟ้าอยู่ดังนี้
จำนวนชั้นของลูกถ้วยคว่ำ (ชั้น) ระยะห่างที่ปลอดภัย (เมตร)
2 – 3 12,000 – 24,000
4 69,000
7 115,000
14 230,000
อีกวิธีหนึ่ง ก็คือ ให้สังเกตจากความสูงของสายไฟฟ้า เทียบกับอาคาร
ระดับความสูงของสายไฟ แรงดันไฟฟ้า (โวลต์)
อาคารชั้นที่ 2 – 3 12,000 – 24,000
อาคารชั้นที่ 4 – 5 69,000 – 115,000
อาคารชั้นที่ 6 ขึ้นไป 230,000
ในการทำงานใกล้แนวสายไฟฟ้าแรงสูงนั้น ลักษณะงานที่มักเกิดอุบัติภัยจากไฟฟ้าแรงสูง ได้แก่
  • งานก่อสร้าง เช่น งานก่อสร้างอาคาร สะพานลอย ทางด่วน งานซ่อมและปรับปรุงสาธารณูปโภคต่าง ๆ
  • งานตอกเสาเข็ม ปั้นจั่น รถเครน เป็นต้น
  • งานติดตั้ง เช่น งานติดตั้งป้ายโฆษณา เสาอากาศทีวี เหล็กดัด กระจก อะลูมิเนียม ไฟประดับ เป็นต้น

ในการทำงานใกล้แนวสายไฟฟ้าแรงสูงนั้น ลักษณะงานที่มักเกิดอุบัติภัยจากไฟฟ้าแรงสูง ได้แก่

  • งานก่อสร้าง เช่น งานก่อสร้างอาคาร สะพานลอย ทางด่วน งานซ่อมและปรับปรุงสาธารณูปโภคต่าง ๆ
  • งานตอกเสาเข็ม ปั้นจั่น รถเครน เป็นต้น
  • งานติดตั้ง เช่น งานติดตั้งป้ายโฆษณา เสาอากาศทีวี เหล็กดัด กระจก อะลูมิเนียม ไฟประดับ เป็นต้น

ข้อควรระวังในการทำงานใกล้แนวสายไฟฟ้าแรงสูง

1. ห้ามทำนั่งร้านค้ำหรือคร่อมใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงที่ไม่มีฉนวนปิดคลุมขณะที่ทำการก่อสร้าง หรือติดตั้งป้ายโฆษณา
2. ห้ามทำงานใกล้สายหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูงในขณะที่มีฝนตก ฟ้าคะนอง
3. ห้ามฉีดพ่น เท หรือราดน้ำใด ๆ ใกล้สายไฟฟ้าแรงสูง ดังนี้

การรดน้ำต้นไม้
การฉีดน้ำด้วยสายยาง
การต่อท่อน้ำทิ้งที่ไหลออกจากระเบียงหรือกันสาด ทำให้ลำน้ำเข้าใกล้หรือกระทบเสาไฟ
ละอองน้ำจากเครื่องหล่อเย็น (Cooling Tower) ที่ใช้สำหรับเครื่องปรับอากาศ หรือระบายความร้อนสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ละอองน้ำ มักจะทำให้ฉนวนไฟฟ้าเสื่อมสภาพ ทำให้มีกระแสไฟฟ้ารั่วที่ฉนวนไฟฟ้า นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดไฟฟ้าดับเป็นบริเวณ กว้าง ในบางกรณีอาจทำให้สายไฟฟ้าขาดได้ด้วย

4. ห้ามสอยสิ่งใด ๆ ทุกชนิดที่ติดอยู่ที่สายไฟฟ้าแรงสูง เช่น ว่าว สายป่าน ลูกโปร่งสวรรค์ เป็นต้น
5. ห้ามจุดไฟเผาขยะ หรือหญ้ารวมทั้งการทำอาหารทุกชนิด เช่น การปิ้ง ย่าง ผัด หรือทอดที่ทำให้ความร้อนและควันไฟรม หรือพ่นใส่ สายไฟฟ้า หรือฉนวนไฟฟ้าแรงสูง เพราะจะทำให้ฉนวนไฟฟ้าเสื่อมสภาพ ทำให้มีไฟฟ้ารั่วและเกิดลัดวงจร จนไฟฟ้าดับเป็นบริเวณ กว้าง และในบางกรณีอาจทำให้สายไฟฟ้าขาดด้วย
6. ห้ามจับดึง หรือแกว่งลวดสลิงเหล็กที่ใช้ยึดโยงเสาไฟฟ้าแรงสูง หรือบริเวณโคนเสาไฟฟ้าเพราะอาจจะแกว่งไปกระทบสายไฟฟ้าแรง สูงทำให้มีไฟรั่วลงมา หรือทำให้สายไฟแรงสูงขาดได้
7. ห้ามไต่หรือขึ้นไปบนเสาไฟฟ้าทุกชนิด ทุกกรณี
8. ห้ามยื่นส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือนำวัสดุอื่นใดเข้าใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงมากกว่าระยะที่กำหนด
4. ไม่ควรติดตั้ง เสาอากาศโทรทัศน์ ใกล้แนวสายไฟฟ้าแรงสูง เพราะนอกจากจะทำให้รับสัญญาณได้ไม่ชัดเจนเนื่องจากมีสัญญาณ รบกวนแล้ว ยังเกิดอุบัติเหตุ ถูกไฟฟ้าแรงสูงดูดในระหว่างทำการติดตั้งอีกด้วย และในวันข้างหน้าหากเสาอากาศล้มลง มาแตะสาย ไฟฟ้าแรงสูงด้วยลมพายุหรือด้วยเหตุอื่นใด นอกจากเครื่องใช้ไฟฟ้าของท่านจะชำรุดแล้วบุคคลภายในบ้านอาจได้รับอันตราย และ ยังทำให้มีไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้างอีกด้วย
10. ผู้เป็นเจ้าของป้ายชื่อสถานที่ประกอบการ ที่ติดตั้งตามอาคารและผู้ดำเนินการติดตั้งป้ายโฆษณาขนาดใหญ่บนดาดฟ้าอาคาร หรือ ริมถนนใกล้แนวสายไฟฟ้าแรงสูง ต้องหมั่นดูแล ตรวจสอบความแข็งแรงของฐานและโครงเหล็กที่ใช้ติดตั้งป้ายโฆษณา
11. การก่อสร้างอาคาร บ้านพักอาศัย และปลูกต้นไมต้องห่างจากสายไฟฟ้าแรงสูงตามระยะที่กำหนด เพื่อป้องกันมิให้สัมผัสกับสาย หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
12. ควรระมัดระวัง เครื่องมือกลทุกชนิดที่ใช้งานก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ งานปรับปรุงหรือก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ เข้าใกล้สาย ไฟฟ้าแรงสูงเกินกว่าระยะที่กำหนด
13. ควรระมัดระวังผ้าคลุมกันฝุ่นระหว่างทำการก่อสร้าง มิให้ปลิวมาสัมผัสสายไฟฟ้า
14. กิ่งไม้ ที่แตะสายไฟฟ้าจะทำให้มีไฟรั่วลงมาตามกิ่งไม้ ทำให้อาจได้รับอันตรายจากไฟฟ้ารั่วได้ จึงต้องระมัดระวังคอยดูแลตัดแต่ง กิ่งไม้ไม่ให้เข้าใกล้สายไฟฟ้าเกินระยะที่กำหนด
15. เมื่อเกิดเพลิงไหม้ ผู้ที่จะใช้เครื่องมือดับเพลิง ควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้เครื่องมือดับเพลิงว่าเป็นชนิดที่ใช้ดับเพลิง ซึ่งเกิดกับ สิ่งที่มีกระแสไฟฟ้าหรือไม่ และระยะห่างเท่าใด
16. ควรติดตั้งป้ายหรือสัญญาณเตือนภัยแสดงเขตอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูงเสมอ
17. ก่อนที่จะขุดเจาะ หรือตอกปักวัตถุใด ๆ เช่น แท่งโลหะลงในดิน จะต้องแน่ใจเสียก่อนว่า ไม่มีสายไฟฟ้าแรงสูงอยู่ใต้พื้นดินนั้น มิฉะนั้นท่านอาจได้รับอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูงได้
18. ห้ามยิงนกหรือสัตว์ที่เกาะบนสายไฟฟ้าแรงสูง เพราะสายจะขาดตกลงมา ทำให้ผู้คนและตัวท่านเองได้รับอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูง
19. หากต้องการให้การไฟฟ้านครหลวง หุ้มสายไฟฟ้าแรงสูง ในกรณีที่จำเป็นต้องทำงานใกล้สายไฟฟ้า ท่านสามารถติดต่อได้ที่การ ไฟฟ้านครหลวงเขตต่าง ๆ

ข้อควรระวังอันตรายจากสายไฟฟ้าแรงสูงขาด

1.  หลีกเลี่ยงการยืนอยู่ที่โคนเสาไฟฟ้าหรือใต้แนวสายไฟฟ้าแรงสูงในขณะที่มีฝนตก ฟ้าคะนอง เพื่อป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าและสาย ไฟฟ้าแรงสูงขาด
2. การเล่นว่าวใกล้สายไฟฟ้าแรงสูง เมื่อว่าวติดสายไฟการดึงสายป่านจะทำให้สายไฟแกว่งเข้าหากัน และเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ทำให้สาย ไฟฟ้าแรงสูงขาดตกลงมาได้
3. กิ่งไม้ที่แตะ และเสียดสีกับสายไฟฟ้าแรงสูงนอกจากจะมีไฟฟ้าวิ่งลงมากับต้นไม้แล้ว ยังอาจทำให้มีไฟฟ้าดับหรือสายไฟฟ้าแรงสูง ขาดตกลงมาได้
4 เมื่อพบว่ามีสายไฟฟ้าแรงสูงขาด ให้ดำเนินการดังนี้

หลีกเลี่ยงอย่าเข้าใกล้หรือกันคนไม่ให้เข้าใกล้สายไฟฟ้า
อย่าพยายามจับหรือใช้วัสดุเขี่ยสายไฟเป็นอันขาด ท่านอาจได้รับอันตราย
โทรศัพท์แจ้งการไฟฟ้านครหลวงหรือหน่วยงานสาธารณภัยที่สะดวกที่สุด

5. ถ้าสายไฟฟ้าแรงสูงขาด และพาดอยู่กับรถยนต์ที่ขับหรือจอดอยู่มีข้อแนะนำดังนี้

อย่าพยายามลงจากรถจนกว่าจะแน่ใจว่า ไม่มีสายไฟฟ้าแรงสูงพาดอยู่กับรถหรือมีสายไฟฟ้าพาดอยู่บนพื้นดินที่เปียกอยู่
ขับรถให้พ้นจากสายไฟฟ้าแรงสูงที่พาดอยู่นั้น ถ้าสามารถทำได้

6. หากสายไฟฟ้าแรงสูงขาดตกน้ำให้หลีกเลี่ยงให้พ้นจากบริเวณที่มีน้ำให้มากที่สุด แล้วแจ้งการไฟฟ้านครหลวงพร้อมกับกันคนไม่ให้เข้า ใกล้น้ำ
7. หากพบว่ามีเสียงดังคล้ายเลียงผึ้งบินบริเวณอุปกรณ์หรือสายไฟฟ้าแรงสูงบนเสาไฟฟ้า ให้รีบแจ้งการไฟฟ้านครหลวง ที่ใกล้ที่สุด เพื่อ ดำเนินการแก้ไข